Sample text

Sample Text

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นักเรียนเป็นหัวใจของการศึกษา


นักเรียนเป็นหัวใจของการศึกษา
“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 

นักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา 

"เราสอนเด็กให้เป็นนักเรียนดีได้เราก็อิ่มเอิบใจ แต่จริงแล้วเราควรจะอิ่มเอิบใจไปกว่านั้นเหมือนเราปลูกต้นไทรแผ่ร่มเงา วันหนึ่งตอนเที่ยงเราออกไปยืนอยู่ใต้ต้นไทรของเราเพื่อพักร้อน เราก็ชื่นใจที่ร่มเงาของต้นไทรที่เราปลูกสามารถให้คนมาพักอาศัยได้ และคนที่มายืนอยู่ใต้ต้นไทรหรือนกกาคาบลูกไทรไปเป็นต้นไทร แผ่ร่มเงาให้คนได้อาศัยพักร่มเงาอีกต่อไป เหมือนกับเราทำความดี 
มันจะกระเพื่อมออกไปอีกเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น"

"เยาวชนกำลังมีไฟ กำลังมีแรง กำลังมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กำลังต้องการจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัว และบ้านเมืองการให้เรียนแต่วิชาหนังสือ โดยไม่ให้ทำงานเป็นการ บอนไซเยาวชน" 

การสอนที่ดีคือ ... การท้าทายให้เด็กกระเสือกกระสนหาความรู้ ครูไม่จำเป็นต้องเหนื่อยมากเหมือนสมัยก่อน ... ถ้าครูท้าทายเด็ก เช่น ถามว่าต้นไม้นี่มันแพร่พันธุ์ได้กี่วิธี วิธีอะไรบ้าง ทำอย่างไร โดยให้ ไปหาคำตอบ อาจจะไปหาความรู้จากห้องสมุด อาจจะไปทำจริงๆ อาจไปสังเกต ไปสอบถามความรู้ หากเด็กได้พยายามทำจริง ไปขวนขวายหาความรู้ให้ได้มา ความรู้นั้นจะซึมลึกอยู่ในตัว เป็นเลือดเป็นเนื้ออยู่ในตัว 
เราก็เห็นใจครู ... เพราะค่านิยมของสังคมให้สอนวิชาหนังสือ เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้เรียนต่อได้ การถูกสอนอย่างนี้ทำให้นักเรียนรู้ผิวๆ นำไปใช้จริงได้ยาก"
อ้างอิงจาก: northnfe.blogspot.com 

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ขนมจีน.....เมืองแพร่




ไปเมืองแพร่ เพื่อนพาไปทาน ขนมเส้นเมืองแพร่ หรือ ขนมเส้นน้ำหมู บางครั้งก็เรียกว่า ขนมจีนน้ำเงี้ยวเมืองแพร่ โดยที่จะมีความแตกต่างกับน้ำเงี้ยวที่เชียงรายขนมเส้นเมืองแพร่เป็นอาหารที่ทำง่ายๆ นำกระดูกหมูมาต้มกับ รากผักชีและข่าจนเปื่อย ใส่หมูสับลงไป พร้อมกับปรุงรสด้วยปลาร้า จากนั้นก็ใส่เลือดไก่ และ มะเขือเทศ เท่านั้น เวลาทานจะโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว ปรุงรสเผ็ดด้วยพริกป่นคั่ว รสเปรี้ยวด้วยมะนาว ทานพร้อม ผักแนมได้แก่ ถั่วงอกดิบ ผักชีความอร่อยของขนมเส้นนี้มาจากการเคี่ยวน้ำซุปซี่โครงหมูและหมูสับ



เครื่องปรุง
- ซี่โครงหมูอ่อน 1 กก.
- หมูสับ 1 กก.
- รากผักชี 10 ราก
- ข่า 5 แว่น
- เลือดไก่ 2 ก้อน
- มะเขือเทศ

ซี่โครงหมูอ่อน และ หมูสับ 
เอาซี่โครงหมูอ่อนไปต้มในน้ำร้อนก่อนประมาณ 2 - 3 นาที เพื่อล้างเลือดออกไปก่อน ตอนไปต้มจะได้น้ำซุปใส 
นำซี่โครงอ่อนที่ต้มทำความสะอาดนี้ไปต้มไฟอ่อนกับรากผักชีจนซี่โครงเปื่อย 
ปรุงรส พร้อมกับใส่มะเขือเทศและเลือดไก่ที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก 
รสชาติออกมาก็ใช้ได้ น้ำซุปหวานจากกระดูกหมู รากผักชี

ผ้าหม้อฮ้อม


ประวัติความเป็นมาของผ้าหม้อห้อม

หม้อห้อมเป็นภาษาพื้นเมือง เป็นการรวมคำระหว่าง คำว่า หม้อกับ ห้อมซึ่งคำว่าหม้อ หมายถึง ภาชนะชนิดหนึ่ง ส่วนคำว่าห้อม หมายถึง พืชชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ต้นหอม หรือ ต้นคราม ซึ่งจะให้สีน้ำเงินหรือกรมท่าในการย้อมผ้าความเป็นมาของการทำผ้าหม้อห้อมไม่มีหลักฐานการบันทึกว่า เริ่มทำกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่คาดว่าน่าจะมีการทำมาหลายชั่วอายุคน โดยการทำสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่น พ่อ แม่ เพราะ ป้าเหลือง ทองสุข ผู้ที่ทำผ้าหม้อฮ่อมอยู่ในปัจจุบันก็ทำสืบทอดมาจากแม่และรุ่นป้าเหลืองที่ทำกันอยู่นี้ก็ทำมา ประมาณ 40 กว่าปีแล้ว และคงจะถ่ายทอด สู่รุ่นลูกต่อไป


วิธีการทำสีครามจากต้นหอมหรือต้นคราม
-ตัดต้นหอมหรือต้นคราม
-นำกิ่งและใบมาทำเป็นมัดๆ
-นำใบและกิ่งที่มัดไว้ไปแช่น้ำเปล่าไว้ 2 คืน
-เมื่อแช่ครบ 2 คืนแล้ว นำกากต้นหอมออก
-นำปูนขาวผสมกับน้ำที่แช่ได้ แล้วตีให้เกิดฟอง เติมปูนขาวจนกว่าฟองที่ได้จะเป็นสีน้ำเงิน
-ทิ้งให้น้ำที่ได้ตกตะกอนหรืออาจจะใช้ผ้าขาวบางกรองเอาตะกอนที่ได้เก็บไว้เป็นหัวคราม นำไปใช้ได้ตลอดทั้งปี


สุดยอด กศน.: NF12 จังหวัดอุทัยธานี


สุดยอด กศน.: NF10 จังหวัดแพร่

สุดยอด กศน. : NF8 จังหวัด อุตรดิตถ์


วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การวางภาพประกอบในบล็อก

เรื่องที่ 3 การวางภาพประกอบในบล็อก
ในการดำเนินการสร้างบทความหรือบทเรียนที่ดี โดยปกติจะมีการวางสื่อภาพประกอบเนื้อหา ซึ่ง Blogger สามารถดำเนินการได้โดยง่าย มีวิธีการดังนี้
1.ให้ไปที่ ตรงตำแหน่งบรรทัดที่ต้องการแทรกภาพประกอบ ให้ คลิกที่ปุ่ม แทรกภาพ

 2. เลือกไฟล์ โดยกดที่ปุ่ม Browse ไปที่แหล่งเก็บไฟล์ภาพ (Drive หรือ Folder หรือสื่อเก็บข้อมูลต่างๆ)  สำหรับไฟล์ภาพ ควรเป็น ตระกูล JPG GIF PNG และขนาดของความกว้างไม่เกิน 600 Pixels ดังนั้นควรตกแต่งไฟล์ภาพที่จะ Upload ขึ้น Blog ทั้งหมดให้มีขนาดกว้างไม่เกิน 600 Pixels  นอกจากจะทำให้ไฟล์ภาพมีขนาดพอดีกับหน้าบล็อกแล้ว ยังจะช่วยให้การ Upload ไฟล์รูปภาพ รวมถึงการแสดงผลหน้าเอกสารบล็อก ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

3. เมื่อ Upload ไฟล์ภาพเรียบร้อยแล้ว กดปุ่มเพิ่มรายการที่เลือก ภาพจะปรากฏ แต่จะมีขนาดเล็กสุด  ให้นำเมาล์ไปคลิกที่รูปภาพดังกล่าว จะเกิดเมนูให้เราสามารถเลือกขนาดของภาพ คือ เล็ก / ปานกลาง / ใหญ่ / ใหญ่พิเศษ และ ขนาดเดิม ดังนัันถ้ากำหนดขนาดของภาพไว้ที่ 600 Pixels เมื่อเราเลือกขนาดเดิม จะได้ภาพพอดี  นอกจากนั้น ที่เมนูดังกล่าว ยังสามารถปรับชิดซ้าย ขวา กึ่งกลาง หรือ ลบ รูปภาพออกได้

4. หลังจากตกแต่งขนาด และวางตำแหน่งภาพเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่มบันทึก และ ปุ่มเผยแพร่ ตามลำดับ



วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การนำวิดีโอ มาใช้บนบล็อก

เรื่องที่ 4 การนำวิดีโอ มาใช้บนบล็อก
ปัจจุบันการหาแหล่งหรือนำวิดีโอมาใช้งานบนบล็อกสามารถดำเนินการได้ 5 รูปแบบ1.            Upload : ดำเนินการ Upload จากคอมพิวเตอร์หรือแหล่งเก็บ2.            Form YouTube : การแทรกไฟล์วิดีโอจาก YouTube ทั่วไป3.            Form YouTube videos : การแทรกไฟล์วิดีโอจากช่อง YouTube ที่เป็นสมาชิก4.            Form your phone : การแทรกไฟล์วิดีโอจากโทรศัพท์ Smartphone
5.            Form your webcam : การแทรกไฟล์วิดีโอจากกล้องเว็บแคม

ในที่นี้จะแนะนำเฉพาะ (2) การแทรกไฟล์วิดีโอจาก YouTube ทั่วไป
1. เลือกสร้างรายการบทความใหม่ หรือ จะแก้ไขเพิ่มเติมจากบทความเดิมที่มีอยู่
            ที่ตำแหน่งที่ต้องการวางไฟล์วิดีโอ
2. คลิกเลือกที่รายการ Form YouTube




3. ที่ช่อง Browse เลือกหา หรือนำ links URL รายการวิดีโอที่ได้พิมพ์วางในช่อง คลิกเพื่อนค้นหา


4.ทำการตรวจสอบก่อนการวางโดยทำการคลิกที่กรอบไฟล์วิดีโอ


5.หากถูกต้องคลิกที่ปุ่ม Select (สีฟ้า)
6.ไฟล์วิดีโอที่เลือกก็จะปรากฏในพื้นที่  ที่ท่านต้องการ เสร็จแล้วกดปุ่มบันทึก และเผยแพร่ตามลำดับ


วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะสำคัญและประโยชน์ของบล็อก

เรื่องที่ 2 ลักษณะสำคัญและประโยชน์ของบล็อก
ลักษณะสำคัญของบล็อก
1. แสดงเนื้อหาเป็นชุด ๆ และแต่ละชุดมีวันที่ ที่บันทึกเนื้อหากำกับไว้อย่างชัดเจน
2. เรียงลำดับเนื้อหาตามวันที่ โดยข้อความใหม่ล่าสุดที่บันทึกเข้าไป จะถูกแสดงอยู่ด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนข้อความที่บันทึกเข้าไปก่อนหน้านั้น จะอยู่ถัดลงไปเรื่อย ๆ
3. มีการสะสมชุดเนื้อหาย้อนหลัง ผู้อ่านสามารถค้นหาตามวันเวลา (archive) หรือค้นหาจากคำสำคัญ (tag) ได้
4. อาจอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็น (comment) ที่มีต่อเนื้อหาได้
5. อาจมีการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาออกเป็นกลุ่ม ๆ (category) เช่น บล็อกหนึ่ง ๆอาจไม่ได้มีเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว เพราะเจ้าของบล็อกมีความสนใจในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อให้สะดวกในการอ่าน จึงทำการแยกเป็นหลายหมวดหมู่ไว้ ตัวอย่างเช่น บันทึกประจำวัน, แนะนำเว็บ, วิเคราะห์ข่าว, วิจารณ์ภาพยนตร์ เป็นต้น
6. อาจมี RSS Feed เพื่อให้สะดวกในการติดตามการอัพเดทข้อมูลของบล็อกนั้น ๆและเพื่อความสะดวกในการอ่านบล็อกโดยที่ไม่ต้องเข้ามาอ่านที่บล็อกจริง ๆ

ประโยชน์ของบล็อก
ประโยชน์ของบล็อกมีมากมายหลายประการ อันได้แก่
1.เป็นสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์
ถือได้ว่าบล็อกเป็นเว็บที่เจาะกลุ่มเป้าหมายของผู้คนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก การวางกลยุทธ์การตลาดในแวดวงธุรกิจไม่อาจพึ่งพาแค่ แผ่นพับ ใบปลิว หรือการลงโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ การโฆษณาผ่านวิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งช่องทางที่กล่าวนับวันยิ่งมีค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์สูง การใช้บล็อกเพื่อประชาสัมพันธ์ จึงเป็นอีกวิธีการที่มีค่าการลงทุนที่ต่ำ แต่สามารถส่งผลทางการตลาดที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ในภาครัฐมีหลายแห่งที่ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือ ช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงานอีกทางหนึ่งด้วย
2. เป็นแหล่งให้ข้อมูลความรู้ เฉพาะเรื่อง
ปัจจุบันข่าวสารต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จนหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ล้าสมัย หรือไม่สามารถออกได้ทันตามความต้องการของผู้ที่สนใจ การใช้บล็อกเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการให้ข้อมูล ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าการสร้างบล็อก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และสามารถเขียนหรือปรับปรุงแก้ไขข้อความที่เขียนได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย จึงมีผู้ที่มีความรู้หลายต่อหลายท่านใช้บล็อกเป็นที่เผยแพร่ความรู้ เช่น
 http://www.blognone.com/ (บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ 
 http://www.oknation.net/blog/black (บล็อกวิเคราะห์ข่าวของคุณสุทธิชัย หยุ่น)
3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ปัจจุบันบล็อกถือเป็นช่องทางที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อีกทางหนึ่ง เพราะบล็อกส่วนใหญ่ มักจะอนุญาตให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นของตนที่มีต่อข้อความในบล็อกนั้น ๆ ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการให้คำแนะนำ หรือจะเป็นการแสดงความเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยกับข้อความในบล็อกนั้น ๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านบล็อกสามารถทำให้เกิดเป็นสังคมย่อย ๆ ขึ้นมา
4. เป็นเวทีการเรียนรู้
นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลเฉพาะเรื่องแล้ว สถานศึกษา หรือครู และบุคลากรทางการศึกษา ยังใช้บล็อก เป็นอีกกลไก หรือเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้เนื้อหา เพิ่มเติมจากหลักสูตร หรือเป้นเวทีสำหรับให้ลูกศิษย์เข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถามต่างๆ
ในโลกของสังคมข่าวสารปัจจุบัน บล็อก เป็นอีกปัจจัยสำคัญของ Social network ที่มีอิทธิพลต่อวงการธุรกิจ วงการข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งแวดวงการศึกษา จะเห็นได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของบล็อกประเภทต่างๆไม่ว่าจะเป็นบล็อกส่วนตัว ไปจนถึงบล็อกขององค์กร/ธุรกิจ จะมีอัตราที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถือได้ว่าเป็นการเกิดของ สังคมแห่งการแบ่งปัน ที่มีทั้งผู้ต้องการสาระเนื้อหา ผู้ที่เผยแพร่เนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวหลากหลายประเภทหรือหลากหลายมุมมอง หรือชื่นชมผลงานส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ชีวิตต่างๆ ผลงานรูปภาพ งานกราฟิก งานมัลติมีเดียต่างๆ ไปจนถึงบล็อกขององค์กร / ธุรกิจ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์


แสดงว่าคิดเห็น